เรื่องของจานดาวเทียม
เรื่องของดาวเทียม
นวนิยายทางวิทยาศาสตร์ เรื่องหนึ่ง ที่เขียนขึ้นโดย นาย อาเธอร์ ซี. คลาค ที่ได้นำเสนอแนวคิด ในการใช้ดาวเทียมที่ไม่ใช่ดาวแท้ ให้เป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างคนในโลกใบนี้ โดยจะส่งดาวเทียมให้ลอยขึ้นไปอยู่บท้องฟ้าเสมือนหนึ่งว่าเป็นดาวดวงหนึ่ง เมื่อส่งดาวเทียมไปที่ความสูงในระดับหนึ่ง จะทำให้ดาวเทียมสามารถลอยอยู่บนท้องฟ้าได้โดยไม่ตกลงมาสู่พื้นโลก ซึ่งความคิดนี้ไม่มีใครสนใจเท่าไรนักในสมัยนั้น เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่เพ้อฝันจนเกินไป และต่อมาได้เริ่มมีการนำความคิดของ นายอาเธอร์ ซี. คลาค มาสานต่อและทำการทดลอง จนประสบความสำเร็จในที่สุด เราชาวโลกทั้งหลายจึงได้มีดาวเทียมใช้กันในปัจจุบัน อย่างนี้ต้องขอบคุณความเพ้อฝันของนาย อาเธอร์ ซี. คลาค
ดาวเทียมอยู่บนท้องฟ้าได้อย่างไร
ดาวเทียมสื่อสารจะถูกยิงขึ้นไปเหนือเส้นศูนย์สูตร และส่งเข้าสู่วงโคจรในระดับความสูงที่เรียกความสูงจุดนี้ว่า Clarke Orbit หรือ (ตำแหน่งดาวเทียมค้างฟ้า) โดยจะมีความสูงจากพื้นโลกโดยประมาณ 36,000.-38,000. กิโลเมตร ในตำแหน่งนี้เองจะทำให้ดาวเทียมลอยค้างฟ้าอยู่ได้ และดาวเทียมจะโคจรไปพร้อมๆกันกับโลกด้วยแรงดึงดูดของโลก และแรงดึงดูดจากนอกโลก ถ้าเปรียบเทียบกับการมองไปจากพื้นโลกเปรียบเสมือนกับว่าดาวเทียมที่ลอยอยู่บนท้องฟ้านั้นลอยอยู่กับที่
ระบบควบคุมดาวเทียม
ระบบดาวเทียมเองจะมีระบบเชื้อเพลิงใช้ในการควบคุมให้ดาวเทียมลอยอยู่ตรงตำแหน่ง โดยมีระบบสั่งการจากสถานีควบคุมภาคพื้นดิน และหากว่าเมื่อไรเชื้อเพลิงที่ใช้ควบคุมตำแหน่งเกิดหมด หมายความว่าดาวเทียมดวงนั้นจะไม่อยู่ในการควบคุมจากสถานีภาคพื้นดินอีกต่อไป และจะถือว่าดาวเทียมดวงนั้นเสียใช้งานไม่ได้ อายุโดยประมาณของดาวเทียมจะมีอายุการใช้งานอยู่ที่ประมาณ 15 ปี
ประโยชน์ที่ได้จากดาวเทียม
การสื่อสารผ่านดาวเทียมนับว่าเป็นการสื่อสารที่ประหยัดกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการสื่อสารระบบอื่น ๆ โดยที่ดาวเทียมหนึ่งดวงสามารถส่งสัญญาณครอบคลุมพื้นที่ของโลกได้มากถึง 40 % ของพื้นที่โลก ระบบการสื่อสารในปัจจุบันจึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะใช้สำหรับการสื่อสารกันระหว่างประเทศ การถ่ายทอดสดกีฬา ข่าวสารสดๆจากทั่วทุกมุมโลก หรือการนำเสนอข่าวสารการสู้รบแบบสด ๆ จากพื้นที่ที่เกิดเหตุ เราสามารถรับรู้เรื่องราวของโลกใบนี้ในเพียงแค่ไม่กีวินาทีและยังใช้ได้กับระบบโทรศัพท์ วิทยุ ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ท และอีกหลากหลายระบบที่สามารถใช้การสื่อสารด้วยระบบดาวเทียมได้
ที่มา : NICS Services Group