ส่วนประกอบของจานดาวเทียม

Satellite Antenna  จานรับสัญญาณดาวเทียม
     หน้าที่หลักของจานรับสัญญาณดาวเทียม    คือทำหน้าที่สะท้อนสัญญาณที่รับได้จากดาวเทียม   เพื่อรวมสัญญาณไปที่จุดโฟกัสของจาน ( Center Focus ) ซึ่งจุดโฟกัสนี้จะอยู่บริเวณหน้าจาน   จานในรูปแบบลักษณะนี้เรียกว่า  จานแบบ พาราโบลิก ( Parabolic ) ส่วนตัว LNB จะติดตั้งไว้ที่จุดโฟกัสนี้   เพื่อรับสัญญาณให้ได้แรงที่สุด จานดาวเทียมที่นิยมใช้กันอย่างมาก  คือ จานดาวเทียมแบบตะแกรง  ตามภาพตัวอย่าง ข้อดีของจานแบบนี้คือ  ไม่ต้านลม  น้ำหนักเบา  หาที่ติดตั้งได้ง่าย   ตัวโครงจาน และแผ่นตะแกรงสะท้อนสัญญาณผลิตขึ้นจากอลูมิเนียม  ทำให้น้ำหนักเบาและหมดปัญหาเรื่องสนิม  และวัสดุนี้ยังมีคุณสมบัติการสะท้อนสัญญาณได้ดีอีกด้วย
  
LNB หัวรับสัญญาณดาวเทียม
          
LNB ย่อมาจากคำว่า ( Low  Noise  Blockdown  Converter ) หน้าที่การทำงานหลักๆคือ  รับสัญญาณที่ได้จากจุดรวมสัญญาณที่หน้าจาน  แล้วขยายสัญญาณให้มีความแรงมากขึ้น   ด้วยวงจรขยายสัญญาณที่มีเกนการขยายสูงและการรบกวนต่ำ    แล้วแปลงสัญญาณให้มีความถี่ที่ต่ำกว่าก่อนส่งออกจาก LNB  ความถี่ที่ออกมาจาก LNB นี้เรียกว่าความถี่  IF  ( Intermediate Frequency ) แล้วส่งผ่านสายนำสัญญาณ  Coaxinal Cable  เข้าสู่เครื่องรับสัญญาณดาวเทียมต่อไป
Satellite Receiver  หรือ เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม คือเครื่องแปลงสัญญาณ  ที่รับมาจาก LNB ในช่วงความถี่ IF มาผ่านขบวนการ  แปลงสัญญาณออกมาเป็นสัญญาณภาพและสัญญาณเสียง   เครื่องรับดาวเทียมในปัจจุบันมี 2 ระบบด้วยกัน คือ ระบบ Analog และระบบ Digital

ระบบเครื่องรับแบบ Analog 
          เป็นเครื่องที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณที่รับได้จากดาวเทียม  ออกมาเป็น ภาพและเสียงโดยตรง  ขั้นตอน จะไม่ยุ่งยาก  ระบบนี้หากว่าสัญญาณที่รับได้มีความแรงของสัญญาณที่เพียงพอ ภาพที่ได้ก็จะมีความคมชัด  แต่หากว่าสัญญาณที่ได้อ่อน  ภาพที่ได้จะไม่ชัดและเป็นเม็ดไฟกวน   ในระบ Analog สำหรับการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม  ใน 1 ช่องดาวเทียม ( ช่องทรานสปอนเดอร์ ) จะส่งรายการทีวีได้ 1 ช่องรายการ  หรือถ้าบีบอัดสัญญาณก็จะได้ที่ 2 ช่องรายการแต่คุณภาพที่ได้จะไม่ดีเท่าที่ควร ปัจจุบันระบบนี้ไม่นิยมใช้กันแล้ว

ระบบเครื่องรับแบบ Digital 
          เครื่องรับดาวเทียมระบบ Digital  เป็นเครื่องรับดาวเทียม  ที่รับสัญญาณจากดาวเทียมที่ส่งสัญญาณแบบ  ดิจิตอล  แล้วทำการแปลงสัญญาณข้อมูลด้วยระบบถอดรหัสแบบ Digtal ให้เป็นภาพและเสียงที่สมบูรณ์แบบ  ระบบบีบอัดสัญญาณที่ใช้ในระบบดาวเทียมคือระบบ  MPEG-II  เป็นระบบถอดรหัสแบบเดียวกันกับเครื่องเล่น DVD ซึ่งให้ความคมชัดมาก   ทั้งระบบภาพและเสียง สำหรับระบบ Digital ในกรณีที่สัญญาณที่รับได้จากระบบดาวเทียมมีความแรงสัญญาณต่ำ  ถ้าเป็นแบบระบบเดิมภาพที่ได้จะไม่ชัดและเป็นลักษณะเม็ดไฟกวนภาพ  แต่ถ้าเป็นระบบ Digital ระบบจะยังคงประมวลผลได้  และระบบภาพเสียงที่ได้ก็จะยังคงความคมชัดอยู่เหมือนเดิม ( ยกเว้นสัญญาณที่รับได้อ่อนมากๆหรือต่ำเกินไป ) ในส่วนการรับส่งสัญญาณใน 1 ช่องทรานสปอนเดอร์   สำหรับระบบ Digital สามารถบีบอัดสัญญาณช่องรายการโทรทัศน์ได้มากถึง 4 - 8 ช่องรายการ   ต่อ 1 ช่องทรานสปอนเดอร์   ด้วยระบบการบีบอัดในแบบ Digital ทำให้การเช่าช่องส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมจึงไม่จำเป็นต้องเช่าทั้งทรานสปอนเดอร์  แบ่งเช่าได้ทำให้มีราคาการเช่าที่ถูกลง  และช่องรายการโทรทัศน์ช่องต่างๆทั้งในและต่างประเทศ   จึงนิยมใช้ระบบนี้กันอย่างรวดเร็วและแพร่หลาย  ปัจจุบันช่องรายการผ่านดาวเทียมมีมากถึง 400 กว่าช่องรายการ  และคาดว่าจะมีมากขึ้นอีกในอนาคต

เครื่องรับดาวเทียมแบบ MOVE 
          เครื่องรับดาวเทียมแบบ MOVE หรือ เครื่องรับดาวเทียมแบบมีระบบขันเคลื่อนจานอยู่ในตัวเครื่อง  จะมีวงจรหมุนจานดาวเทียมแบบอัตโนมัติโดยจะออกแบบให้มีระบบจำต่ำแหน่งของดาวเทียมได้   และจะทำงานสัมพันธ์กันกับระบบช่องรายการที่เลือกชม    เมื่อเวลาที่ผู้ใช้เครื่องกดปุ่มช่องรายการ   ตัวจานจะหมุนไปหาต่ำแหน่งดาวเทียมเองอย่างอัตโนมัติ   ทำให้ระบบนี้รับช่องรายการได้มาก   และยังสามารถค้นหาช่องรายการหรือดาวเทียมดวงใหม่ๆเพิ่มเติมได้ด้วยตัวผู้ใช้เอง  อีกทั้งยังมีระบบ อินเตอร์เน็ต  ช่วยในการค้นหาช่องรายการใหม่ๆได้อีกด้วย  เว็บไซด์ที่เกี่ยวกับช่องรายการทีวีผ่านดาวเทียมคือ http://www.lyngsat.com/ , http://www.satcodx.com/

มอเตอร์สำหรับจานดาวเทียม จะทำหน้าที่ปรับตำแหน่งหน้าจาน   ให้ปรับเปลี่ยนมุมการรับไปยังตำแหน่งต่างๆ  ที่ดาวเทียมลอยอยู่บนท้องฟ้า  โดยหลักการทำงานง่ายๆคือ  ตัวมอเตอร์จะหมุนทำให้แกนกลางของมอเตอร์ยืดเข้าออกได้  และระดับการยืดเข้าออก  จะมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่  ผลิตลูกคลื่นที่ชุดมอเตอร์เพื่อเป็นตัวนับระยะยืดเข้าออกของแกนกลาง  และส่งกลับไปที่เครื่องรับดาวเทียม  เพื่อทำหน้าที่นับและบันทึก  ตำแหน่งของดาวเทียมที่จุดต่างๆ
เครื่องรับดาวเทียม  แบบถอดรหัสเคเบิ้ลได้ 
         
นการออกแบบโปรแกรมเครื่องรับดาวเทียม  ให้มีความสามารถในการถอดรหัสเคเบิ้ลทีวีได้  และ โหลดโปรแกรมการถอดรหัสลงเครื่องโดยตรง  เมื่อรับสัญญาณเคเบิ้ลทีวีที่ส่งรหัสล็อคมา   ตัวเครื่องจะสามารถถอดรหัสและสามารถรับชมรายการเคเบิ้ลทีวีนั้นๆได้   เครื่องรับดาวเทียมแบบนี้  จะมีอยู่บางรุ่นบางยี่ห้อเท่านั้น  โปรแกรมลักษณะนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้  ขึ้นอยู่กับบริษัท  และสถานีส่งเจ้าของเคเบิ้ลนั้น ๆ ด้วย
         คือเครื่องรับดาวเทียมที่มีช่องสำหรับเสียบสมาร์ทการ์ด  สำหรับผู้ที่ต้องการเป็นสมาชิกเคเบิ้ลทีวีทั้งไทยและต่างประเทศ     และตัวเครื่องจะต้องมีโปรแกรมรองรับเคเบิ้ลทีวีนั้นๆด้วยจึงจะรับสัญญาณได้    เช่นระบบการล็อครหัสแบบ IRDETO , VIACCESS , CONAX , SECA , NAGRAVISION  ระบบการล็อคนี้ตัวเครื่องรับบางรุ่นอาจจะเป็นระบบเดียวโดยตรงตัวใดตัวหนึ่ง  หรือบางเครื่องอาจจะเป็นแบบ ALL-CAM หมายถึงรองรับได้ทุกระบบเลยที่เดียว    ก่อนตัดสินใจเป็นเจ้าของควรศึกษาระบบสักนิดนะครับ
ที่มา : NICS Services Group